การใช้สื่อดิจิทัลในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
สื่อดิจิทัลในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท
ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยแบ่งออกเป็น
4 ประเภท ดังนี้
1) Blog บล็อก (Blogs) คือ
เว็บไซด์รูปแบบหนึ่งที่ให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวต่าง
ๆ นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว
สิ่งที่ตนเองรู้หรือสิ่งที่ตนเองสนใจเพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น
จึงได้สร้างและเขียนบล็อกของตัวเองขึ้นมาที่มีลักษณะคล้ายกับการเขียนไดอารี่หรือบันทึกส่วนตัว
ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บล็อกนั้นสามารถที่จะแสดงรูปภาพ
ไฟล์เสียงหรือไฟล์วิดีโอได้
โดยผู้เรียนอาจเขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนการบ้านหรืองานกลุ่ม
เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้เข้ามาอ่านแสดงความคิดเห็นหรือให้ผลสะท้อนกลับ (Feedback)
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่องานเขียน โดยผู้เขียนสามารถที่จะนำข้อคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวมาเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขงานเขียนของตนให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำบล็อกมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษมีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้การนำบล็อกมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเนื่องจากเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเข้าถึงมีคุณสมบัติปฏิสัมพันธ์
(Interactive) ทำให้ผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการนำเว็บ Blog เข้าไปใช้ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาจะทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและเกิดแรงจูงใจในการสืบค้นศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น
ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่พึ่งพาตนเองได้ทางวิชาการโดยไม่ต้องอาศัยครูหรือหลักสูตรมากำกับเพราะสามารถรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองได้
(Thanathiti & Soranastaporn, 2008)
2) Micro Blog ไมโครบล็อก (Micro Blog) เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ เป็นข้อความสั้น ๆ ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน เช่น Twitter, Tumblr และ Instagram โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
Twitter คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จาพวกไมโครบล็อก (Micro Blogging) โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร
เป็นการบอกว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ในช่วงเวลานั้นหรือ รีทวิต (Re-tweet) ส่งต่อข่าวสารที่น่าสนใจของคนอื่นได้ด้วยเช่นกัน ทวิตเตอร์
สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนได้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดย
การสร้างสรรค์ผลงาน (Task-based Learning)ให้แก่ผู้เรียนเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CollaborativeLearning)
การส่งเสริมการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกช่วยชี้แนะและส่งเสริมวิธีการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
(Harmandaoglu, 2012)
3) Web
application เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) คือ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ถูกเขียนขึ้นมาสำหรับการใช้งานเว็บเพจ (Webpage)
ต่าง ๆ
สามารถเข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต
เว็บแอพพลิเคชั่นเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการดูแลและอัพเดทข้อมูลโดยไม่ต้องนำไปแจกจ่ายหรือติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์
เว็บแอพพลิเคชั่นที่นิยมนามาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้แก่ EDpuzzle และ Quizlet
Edpuzzle เป็นเทคโนโลยีหรือเครื่องมือสำหรับผู้สอนที่ช่วยในการสร้างสรรค์สื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ใน รูปแบบวิดีโอ ผ่านการผสมผสานคลิปวิดีโอหรือเนื้อหาบทเรียนจากแหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้แบบเปิดที่หลากหลาย อาทิ YouTube, Khan Academy, National Geographic, TED Talks ในการสร้างสื่อวิดีโอจาก Edpuzzle ผู้สอนสามารถออกแบบเนื้อหารวมถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ทันที โดยผู้สอนสามารถแทรกคำถาม หยุดวิดีโอเพื่อเพิ่มข้อความหรือเล่าเรื่องได้คั่นระหว่างการดูวิดีโอเนื้อหา กล่าวได้ว่า Edpuzzle เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างสื่อเนื้อหาบทเรียนมัลติมีเดียให้มีความน่าสนใจ ผู้สอนสามารถสร้างสื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ได้อย่างง่ายผ่านการตัดต่อคลิปวิดีโอ แทรกคำถาม และทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุก กับการทดสอบและการวัดประเมินผล ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้ Edpuzzle ในกระบวนการเรียนการสอนทั้งใน รูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และในรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ได้อีกด้วย (Amornrit, 2018) Edpuzzle เหมาะกับผู้เรียนทุกเพศทุกวัย ผู้สอนเพียงแต่เลือกสื่อวิดีโอที่เหมาะสำหรับบทเรียนและผู้เรียน ผู้เรียนเพียงแต่มีอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น iPad ผู้เรียนก็สามารถเข้าถึงวิดีโอที่มีประสิทธิภาพต่อการฝึกทักษะการอ่าน การเขียนและการฟังได้เป็นอย่างดี (Alvarado et al., 2016)
Quizlet เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการฝึกฝนทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บัตรภาพ
บัตรคำศัพท์และเกมส์ต่าง ๆ
เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ซึ่งแสดงความหมายและรูปภาพประกอบ
คำศัพท์และวิธีการเรียนรู้คำศัพท์หลากหลายวิธี คือ
1.
Flashcards คือ การเรียนรู้คำศัพท์จากความหมายและภาพ
2.
Learn คือ
แบบทดสอบคำศัพท์หลากหลายวิธีการเช่น บัตรคำศัพท์ คำถามแบบเลือกตอบ
3.
Write คือ
การพิมพ์คำศัพท์จากภาพและความหมายที่ปรากฏ
4.
Spell คือ
แบบทดสอบคำศัพท์ด้วยการฟังเสียงและพิมพ์คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยิน
5.
Test คือ
การสร้างแบบทดสอบคำถาม 4 รูปแบบ
สามารถเลือกได้ว่าจะใช้คำถามแบบใด คือ แบบเขียนคำตอบสั้น แบบเลือกตอบ
แบบทดสอบแบบจับคู่และแบบจริงเท็จ
6.
Match คือ
เกมส์จับคู่คำศัพท์และความหมาย
7.
Gravity คือ
เกมส์พิมพ์คำศัพท์หรือความหมายโดยคำถามจะหล่นลงมาพร้อมกับอุกกาบาต
8.
Live คือ
เกมส์ที่ให้ผู้เรียนเล่นเป็นทีมร่วมกันหาความหมายของศัพท์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ
Media
Sharing
4) Media
Sharing
เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ วิดีโอ
หรือเพลงเพื่อแบ่งปันหรือเผยแพร่ให้กับสมาชิกหรือสาธารณชนทั่วไปตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น
Media Sharing เช่น Youtube, Vimeo, Veoh, Flickr,
Photobucket, Imageshack และ Snapfish ซึ่ง Youtube
เป็น Media Sharing ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
YouTube คือ
เว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรีโดยผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้าไปดูหรืออัพโหลด
(upload)
ภาพวิดีโอต่าง ๆ
พร้อมทั้งแบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูได้แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกจะไม่สามารถอัพโหลดวิดีโอแต่สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอของผู้ใช้คนอื่นดูได้
โดยผู้สอนสามารถนำยูทูปมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟัง
การพูด การอ่าน การเขียนของผู้เรียนได้
ผู้สอนสามารถที่จะเลือกบางตอนของภาพยนตร์ที่มีความเหมาะสมต่อระดับของผู้เรียน อีกทั้งยังสามารถให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับคลิปวิดีโอที่ได้ดูนั้น
ๆ ซึ่งเป็นการฝึกพัฒนาทักษะการฟังและการเขียนไปในเวลาเดียวกัน
ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนฝึกทักษะการฟังและการเขียนโดยสรุปข่าวหรือเขียนลำดับของข่าวจากการฟังข่าวจากสำนักข่าวต่าง
ๆ เช่น ซีเอ็นเอ็น (CNN) หรือ บีบีซี (BBC) วีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปสามารถช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนภาษาอังกฤษและยังช่วยพัฒนาเพิ่มระดับความสามารถทางทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างมาก
(Almurashi (2016)) และพบว่าวิดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปเป็นสื่อการสอนที่ดีสำหรับผู้สอนซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการสอนที่ใช้แต่หนังสือหรือตำราเรียนเพียงอย่างเดียวอีกทั้งผู้เรียนยังมีทัศนคติว่าการดูวีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปในห้องเรียนช่วยให้มีความสนุกสนานในการเรียนรู้และมีบรรยากาศที่น่าเรียนอีกด้วย
Journal of Graduate Studies
Valaya Alongkron Rajabhat University
Vol. 13 No. 1 (January – April
2019)
จิรารัตน์
ประยูรวงษ์ (September
17, 2018)
เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลมีการพัฒนาอย่างก้าวไกลและมีความทันสมัยเพื่อความต้องการของผู้บริโภค
การใช้สื่อดิจิทัลในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ผู้เรียนมีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ
เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันควรมีความทันสมัย
เข้าถึงได้ง่ายทุกเพศทุกวัย มีความหลากหลายและเปิดกว้าง การที่สื่อดิจิทัลมีความหลากหลายการเรียนรู้เองก็มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น การเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่ควรหยุดแค่ในห้องเรียนหรือหนังสือเท่านั้น
ผู้เรียนควรหาความรู้และพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง สื่อดิจิทัลเหล่านี้จึงมีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและผู้สอนเอง
การเลือกใช้สื่อดิจิทัลที่เหมาะสมควรคำนึงถึงตัวผู้เรียนที่จะรับรู้เนื้อหาต่าง ๆ
เลือกให้เหมาะสมกับช่วงอายุและศักยภาพของแต่ละบุคคล
เนื้อหาน่าสนใจค่ะ 😊
ตอบลบ