พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ปีพุทธศักราช 2560
พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ คือสิ่งที่ชาว Social Media ไม่ควรมองข้าม
ในยุคศตวรรษที่ 21 หรือในปัจจุบัน Social Media หรือเทคโนโลยีต่างๆ มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทุกอย่างรอบตัวล้วนมีเจ้าของหรือมีลิขสิทธิ์นั่นเอง
รวมไปถึง Privacy ความเป็นส่วนตัว ข้อมูลบนโลกใบนี้มีทั้งข้อมูลที่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้และข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดเผยได้
การก่ออาชญากรรมในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตนับวันยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น
จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจถือว่าผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เป็นการป้องกันผู้กระทำความผิด สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน
ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้
ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด
ในที่นี้ทางเราของหยิบยกมาตราสำคัญใน
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่คาดว่าชาว Social Media ควรทราบเพื่อที่จะไม่เผลอกระทำความผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ
มาตรา 13 จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด
-
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา
5 มาตรา 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
-
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
มาตรา 12 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด
ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
มาตรา 14 นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
-
โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง
-
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
-
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
ก่อการร้าย
-
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
-
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด
(อย่างเช่น กด Share
ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน
ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง
ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
-
ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น
และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใดที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ้างอิงที่มา https://contentshifu.com/computer-law/
จะเห็นได้ว่า
Social
Media ได้เข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตผู้ใช้งาน Social
Media เป็นจำนวนมากในสังคม ทั้งในด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา
เศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงการรับข้อมูลข่าวสารและการเผยแพร่ การส่งต่อข้อมูล
เนื่องจากความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การรับรู้ข่าวสารต่างๆ
เป็นไปได้ง่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้นำเข้า ส่งต่อ หรือเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ขาดการพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของข้อมูลที่นำเข้าหรือส่งต่อทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนจากการกระทำดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
เพิ่มเติม https://citcoms.nu.ac.th/computer-2560/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น